ลักษณะของขลุ่ยที่ดี

ลักษณะของขลุ่ยที่ดี

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าขลุ่ยที่ดี ควรทำมาจากไม้ไผ่ นอกจากนี้ควรพิจารณาสิ่งอื่น ๆ ประกอบกันด้วย เสียงขลุ่ยที่จะใช้ ได้ต้องเสียงไม่เพี้ยนตั้งแต่เสียงต่ำสุด ไปจนถึงสูงสุด คือทุกเสียงจะต้องห่างกัน 1 เสียง ตามระบบเสียงของไทยเสียงคู่แปดจะต้องเท่ากัน เสียงเลียนหรือนิ้วควงจะต้องตรงกัน เสียงแท้ เสียงต้องโปร่งใส มีแก้วเสียง ไม่แหบพร่าหรือแตก ถ้าเล่นในวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีที่เสียงตายตัว เช่น ระนาดหรือฆ้องจะต้องเลือกขลุ่ยที่มีระดับเสียงเข้ากับ เครื่องดนตรีเหล่านั้น ลม ขลุ่ยที่ดีจะต้องกินลมน้อย ไม่หนักแรงเวลาเป่า ซึ่งจะทำให้สามารถระบายลมได้ง่าย

ลักษณะของไม้ที่นำมาทำ จะต้องเป็นไม้ที่แก่จัดหรือแห้งสนิท โดยสังเกตจากเสี้ยนของไม้ ควรเป็นเสี้ยนละเอียดที่มีสีน้ำตาล แก่ค่อนข้างดำตาไม้เล็กๆ เนื้อไม่หนาหรือบางเกินไปคือต้องเหมาะสมกับประเภทของขลุ่ยว่าขลุ่ยอะไรในกรณีที่ไม้ไผ่แก่จัดหรือไม่แห้งสนิทเมื่อทำแล้วในระยะหลังจะแตกร้าวได้ง่าย เสียงจะเปลี่ยนไป และมอดจะกัดกินเสียหาย ดาก ควรทำจากไม้สักทอง ไม่มีขุยหรือขนแมวขวางทางลม การใส่ดากจะต้องไม่ชิดหรือห่างไม้ไผ่ ซึ่งเป็น ตัวเลาขลุ่ยจนเกินไป เพราะถ้าใส่ชิดจะทำให้เสียงทึบ ตี้อ ถ้าใส่ห่างจะทำให้เสียง โว่ง กินลมมาก นอกจากนี้การหยอดขี้ผึ้งที่ดากต้องทำอย่างประณีต ละลายขี้ผึ้งให้ไหลเข้าไป อุดช่องว่างที่ไม่ต้องการรอบ ๆ ดาก ให้เต็มเพื่อไม่ให้ลมรั่วออกรูต่าง ๆ บนเลาขลุ่ย จะต้องเจาะอย่างประณีต ขนาดความกว้าง ของรูต้องเหมาะกับขนาดของไม้ไม่กว้างเกินไป ขลุ่ยในสมัยโบราณ รูต่าง ๆ ที่นิ้วปิดจะต้องคว้านด้านในให้เว้า คือ ผิวด้านในรูจะกว้างกว่าผิวด้านนอก ซึ่งจะทำให้เสียงของขลุ่ย กังวานดียิ่งขั้น แต่ในปัจจุบันไม่ได้คว้านภายในรูเหมือนแต่ก่อนแล้วซึ่งอาจจะเนื่อง มาจากความเอาใจใส่ของคนที่ทำขลุ่ยน้อยลง ทำให้เห็นแต่เพียงว่าภายนอกเหมือนขลุ่ยเท่านั้นลักษณะประกอบอื่น ๆ เช่นสีของไม้สวย ไม่มีตำหนิ ขีดข่วน ไม่คดงอ เทลายได้สวยละเอียด แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีผล กระทบต่อเสียงของขลุ่ยแต่อย่างใด เพียงพิจารณาเป็นส่วนประกอบเพื่อเลือกให้ได้ขลุ่ยที่ถูกใจเท่านั้น

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าขลุ่ยที่ดีควรทำมาจากไม้ไผ่ นอกจากนี้ก็ควรพิจารณาสิ่งอื่นๆประกอบไปด้วย

1.เสียง ขลุ่ยที่ใช้ได้ดีเสียงต้องไม่เพี้ยนตั้งแต่เสียงต่ำสุดไปจนถึงเสียงสูงสุด คือทุกเสียงต้องห่างกันหนึ่งเสียงตามระบบของเสียงไทย เสียงคู่แปดจะต้องเท่ากันหรือเสียงเลียนเสียงจะต้องเท่ากัน หรือนิ้วควงจะต้องตรงกัน เสียงแท้เสียงต้องโปร่งใสมีแก้วเสียงไม่แหนพร่าหรือแตก ถ้านำไปเล่นกับเครื่องดนตรีที่มีเสียงตายตัว เช่น ระนาดหรือฆ้องวงจะต้องเลือกขลุ่ยที่มีระดับเสียงเข้ากับเครื่องดนตรีเหล่านั้น

2.ลม ขลุ่ยที่ดีต้องกินลมน้อยไม่หนักแรงเวลาเป่าซึ่งสามารถระบายลมได้ง่าย

3.ลักษณะของไม้ที่นำมาทำ จะต้องเป็นไม้ที่แก่จัดหรือแห้งสนิท โดยสังเกตจากเสี้ยนของไม้ควรเป็นเสี้ยนละเอียดที่มีสีน้ำตาลแก่ค่อนข้างดำ ตาไม้เล็กๆเนื้อไม่หนาหรือบางจนเกินไป คือต้องเหมาะสมกับประเภทของขลุ่ยว่าเป็นขลุ่ยอะไร ในกรณีที่เป็นไม้ไผ่ถ้าไม้ไม่แก่จัดหรือไม่แห้งสนิท เมื่อนำมาทำเป็นขลุ่ยแล้วต่อไปอาจแตกร้าวได้ง่าย เสียงจะเปลี่ยนไป และมอดจะกินได้ง่าย

4.ดาก ควรทำจากไม้สักทอง เพราะไม่มีขุยหรือขนแมวขวางทางลม การใส่ดากต้องไม่ชิดหรือห่างขอบไม้ไผ่จนเกินไปเพราะถ้าชิดจะทำให้เสียงทึบ ตื้อ ถ้าใส่ห่างจะทำให้เสียงโว่งกินลมมาก

5.รูต่างๆบนเลาขลุ่ย จะต้องเจาะอย่างประณีตขนาดความกว้างของรูต้องเหมาะกับขนาดของไม้ไผ่ไม่กว้างเกินไป

ขลุ่ยในสมัยก่อนรูต่างๆ ที่นิ้วปิดจะต้องกว้านด้านในให้เว้า คือผิวด้านในรูจะกว้างกว่าผิวด้านนอก แต่ปัจจุบันไม่ได้กว้านภายในรูเหมือนแต่ก่อนแล้ว ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากคนทำขลุ่ย ต้องผลิตขลุ่ยคราวละมากๆ ทำให้ละเลยในส่วนนี้ไป

6.ควรเลือกขลุ่ยที่มีขนาดพอเหมาะกับนิ้วของผู้เป่า กล่าวคือ ถ้าผู้เป่ามีนิ้วมือเล็กหรือบอบบางก็ควรเลือกใช้ขลุ่ยเลาเล็ก ถ้าผู้เป่ามีมืออวบอ้วน ก็ควรเลือกใช้ขลุ่ยขนาดใหญ่พอเหมาะ

7.ลักษณะประกอบอื่นๆ เช่น สีผิวของไม้สวยงาม ไม่มีตำหนิ ขีดข่วน เทลายได้สวยละเอียด แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้มีผลกระทบกับเสียงขลุ่ยแต่อย่างใด เพียงพิจารณาเพื่อเลือกให้ได้ขลุ่ยที่ถูกใจเท่านั้น สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ดนตรีไทย โดย นพดล บุญศรัทธา อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น